สิว เป็นความผิดปกติของผิวหนังที่เกิดจากการอุดตันของน้ำมันในรูขุมขน ทำให้สิวมักจะเกิดขึ้นในบริเวณที่มีต่อมไขมันอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ใบหน้า แผ่นหลัง ลำคอ หน้าอก เป็นต้น ซึ่งสิวที่สามารถเกิดขึ้นบนใบหน้าของเรานั้นมีหลากหลายประเภท ดังนั้น ในบทความนี้ M VITA CLINIC จะพาคนไข้มาทำความรู้จักประเภทของสิว พร้อมแนะนำความแตกต่าง และวิธีรักษาที่เหมาะสมกับสิวแต่ละประเภท เพื่อให้คนไข้มีวิธีดูแลสิวแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม
ทำความรู้จักประเภทของสิว
สิวไม่อักเสบหรือสิวอุดตันส่วนใหญ่ มีสาเหตุมาจากการอุดตันจากเชื้อแบคทีเรียที่ไม่มีการอักเสบ มีลักษณะเป็นสิวนูนออกมาจากผิวหนัง เมื่อใช้มือสัมผัสจะรู้สึกได้ถึงความไม่เรียบเนียนของผิว โดยสามารถแบ่งได้ 2 ชนิดตามลักษณะของหัวสิว ได้แก่
1. สิวไม่อักเสบ หรือสิวอุดตัน (Non-Inflammatory Acne)
สิวไม่อักเสบหรือสิวอุดตันส่วนใหญ่ จะเป็นการอุดตันจากเชื้อแบคทีเรียที่ไม่มีการอักเสบ มีลักษณะเป็นสิวนูนออกมาจากผิวหนัง เมื่อใช้มือสัมผัสจะรู้สึกได้ถึงความไม่เรียบเนียนของผิว โดยสามารถแบ่งได้ 2 ชนิดตามลักษณะของหัวสิว ได้แก่
- สิวหัวดำ (Blackheads) มีลักษณะเป็นเม็ดสีดำ ๆ อยู่บริเวณรูขุมขน สามารถรักษาได้ง่ายโดยไม่ต้องไปพบแพทย์ เช่น การใช้ยารักษาสิวที่ช่วยลดการอุดตัน การเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน
- สิวหัวขาว (Whiteheads) มีลักษณะเป็นเม็ดตุ่มนูนสีขาว ๆ คล้ายผื่น แต่จะมีขนาดใหญ่กว่าผื่น ซึ่งสิวหัวขาวสามารถเกิดการอักเสบและติดเชื้อจากการบีบหรือแกะได้ ดังนั้นหากต้องการรักษาด้วยการกดสิวควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
2. สิวอักเสบ (Inflammatory Acne)
สิวอักเสบ เกิดจากปฏิกิริยาของผิวหนังต่อสิ่งแปลกปลอมอย่างเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า C.Acnes ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มักพบในต่อมไขมัน และกระตุ้นให้ผิวหนังเกิดการอักเสบจนกลายเป็นสิวได้ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
- สิวตุ่มนูนแดง (Papule) เป็นสิวขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดง ไม่มีหัว และไม่มีอาการคันหรือปวด สามารถรักษาได้ด้วยการทำความสะอาดผิวหน้าด้วยผลิตภัณฑ์สูตรอ่อนโยน ไม่ควรกด หรือบีบด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อจนกลายเป็นสิวหัวหนองได้
- สิวหัวหนอง (Pastule) มีขนาดคล้ายกับสิวตุ่มนูนแดง แต่จะมีหัวหนองที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ อยู่ด้วย ไม่ควรกดหรือบีบสิวด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ และลุกลามไปบริเวณอื่นได้ ทางที่ดีควรให้แพทย์เป็นคนกดสิวให้จะดีที่สุด หรือรักษาในเบื้องต้นด้วยการใช้แผ่นแปะสิว และยาแต้มรักษาสิว
- สิวหัวช้าง (Nodulocystic acne) เป็นสิวอักเสบที่รุนแรงและมีขนาดใหญ่ที่สุด อีกทั้งยังสามารถแพร่กระจายไปทั่วบริเวณใบหน้าและลำคอได้ ไม่ควรรักษาด้วยการกดหรือบีบ เพราะอาจกลายเป็นหลุมสิว หรือสิวกระจายตัวและอักเสบอยู่ใต้ผิวหนังมากกว่าเดิมได้ ควรไปพบแพทย์ผิวหนังหรือแพทย์รักษาสิวเพื่อรับคำแนะนำและทำการรักษาอย่างถูกต้อง
- สิวซีสต์ (Cystic Acne) เป็นสิวอักเสบที่มีความรุนแรงมากกว่าสิวทั่วไป ลักษณะของสิวซีสต์คือเป็นตุ่มหนองขนาดใหญ่ มักมีสีแดงหรือสีออกม่วง การรักษาสิวซีสต์ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากอาจต้องใช้ยาเฉพาะทางหรือวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะ ยาในกลุ่มเรตินอยด์ หรือการทำเลเซอร์
3. สิวเทียม
สิวเทียม เป็นสิวอีกหนึ่งประเภทที่ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่อาจสร้างความรำคาญใจให้แก่คนไข้ได้ โดยสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 6 ชนิด ดังนี้
- สิวผด เป็นอาการแพ้ของผิวหนัง มีลักษณะเป็นผื่นหรือตุ่มเล็ก ๆ ที่ให้ความรู้สึกไม่เรียบเนียนเมื่อสัมผัส มักจะขึ้นเป็นจำนวนมากและกระจายตัวในบริเวณเดียวกัน สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยารักษาสิวผดและเลเซอร์รักษาสิวผด หรือรักษาด้วยตัวเองด้วยการมาส์กหน้าเป็นประจำ
- สิวเม็ดข้าวสาร เป็นซีสต์ไขมันใต้ผิวหนังที่ไม่เป็นอันตราย โดยจะมีลักษณะเป็นเม็ดแข็ง นูน ขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร อาจมีสีขาวหรือสีเดียวกับสีผิว บางคนอาจมีอาการคันร่วมด้วย สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยารักษาสิว แต่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
- สิวหิน เป็นเนื้องอกของท่อเหงื่อที่ไม่เป็นอันตราย มีลักษณะเป็นสีขาวขุ่นหรือสีเหลือง แต่ไม่มีอาการคันเหมือนสิวข้าวสาร สามารถรักษาได้ด้วยเครื่องจี้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นการใช้ความร้อนเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อที่เป็นสิวหิน แล้วค่อยกดเอาเนื้องอกสิวหินออก
- สิวเสี้ยน มีลักษณะคล้ายกับสิวอุดตันหัวดำ เป็นโรคผิวหนังที่ทำให้ขนหลาย ๆ เส้นอุดตันอยู่ในรูขุมขนมากกว่าปกติ ทำให้ไขมันและเซลล์ผิวเก่า ๆ เกาะตัวกับเส้นขน และดันเส้นขนเล็ก ๆ ขึ้นมาบนผิว สามารถรักษาได้ด้วยการทากรดวิตามินเอ เช่น เรติโนอิคขนาด 0.025% ถึง 0.05% ทาวันละครั้งในตอนเย็น เป็นต้น
- สิวแพ้ เป็นสิวที่เกิดจากการแพ้สารหรือส่วนประกอบบางอย่างที่อยู่ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว โดยผิวจะมีตุ่มแดงหรือผื่นคล้ายสิวขึ้นอย่างเฉียบพลัน แนะนำว่าให้หยุดใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มความชุ่มชื้น หลีกเลี่ยงการแกะ หรือเกาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบ
- สิวสเตียรอยด์ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้ผิวหนังและรูขุมขนเกิดการอักเสบ จนมีการหลั่งของเสียออกมาและไปรวมตัวกับน้ำมันในผิว ทำให้สามารถเกิดได้ทั้งสิวอักเสบและไม่อักเสบ ทางที่ดีควรหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำ รวมถึงวิธีรักษาที่ถูกต้อง
ประเภทของสิวที่เกิดขึ้นตามช่วงวัยที่แตกต่างกันไป
ฮอร์โมน เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวได้ ดังนั้น เมื่อฮอร์โมนมีความผันผวนไปตามอายุและวัยก็ย่อมทำให้เกิดประเภทของสิวที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุได้ โดยสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 4 ช่วงอายุ ดังนี้
1. สิวในเด็กแรกเกิด (Acne neonatorum)
เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่า ในวัยเด็กก็สามารถเป็นสิวได้เช่นกัน โดยจะเรียกว่า สิวในเด็กแรกเกิด (Acne Neonatum) หรือสิวในวัยเด็ก (Baby Acne) สามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กแรกเกิดประมาณ 20% ซึ่งเด็กผู้ชายนั้นมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดสิวมากกว่าเด็กผู้หญิงได้ถึง 4 เท่า โดยมักจะพบบริเวณแก้ม มีลักษณะเป็นสิวหัวปิด (สิวหัวขาว) สิวหัวเปิด (สิวหัวดำ) สิวชนิดตุ่มนูนแดง (Papule) และสิวหัวหนอง (Pastule) แต่จะไม่เกิดเป็นแผลเป็นขึ้น
2. สิวในเด็กเล็ก (Acne Infantum)
สิวในเด็กเล็ก (Acne Infantum) หรือสิวเด็กวัยหัดเดิน (Toddler Acne) สิวทารก (Acne Infantilis/Infantile Acne) หรือสิววัยเยาว์ พบในเด็กอายุ 3-12 เดือน และพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง โดยมักจะพบบริเวณแก้ม
3. สิววัยรุ่น (acne vulgaris)
มักจะพบในช่วงวัยแรกรุ่น หรืออายุระหว่าง 15-18 ปี ซึ่งนับว่าเป็นช่วงอายุที่ได้รับผลกระทบจากสิวถึงประมาณ 70-90% เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเป็นอย่างมาก ทำให้สามารถเกิดสิวที่มีความรุนแรงตั้งแต่ระดับต้น ระดับกลาง ไปจนถึงระดับรุนแรงได้ นอกจากนี้ยังสามารถพบแผลเป็นจากสิวได้อีกด้วย
4. สิววัยกลางคน (Acne Tarda)
สิววัยกลางคน หรือที่รู้จักกันว่า สิวผู้ใหญ่ มักจะเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไป และสามารถพบได้หลากหลายบริเวณ เช่น สิวที่หลัง สิวที่ใบหน้า สิวที่คอ สิวที่หน้าอก เป็นต้น ซึ่งสิววัยกลางคนนี้สามารถพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีความผันผวนของฮอร์โมนจากการมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ หรือเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน
ประเภทของสิวตามระดับความรุนแรงของสิว
นอกจากการแบ่งประเภทของสิวตามลักษณะและช่วงอายุได้แล้ว ยังสามารถแบ่งประเภทของสิวตามระดับความรุนแรงได้อีกด้วย โดยสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของสิวได้ทั้งหมด 4 ระดับ ดังนี้
- สิวเล็กน้อย (Mild Acne) หรือสิวระดับต้น (Acne Comedonica) เป็นสิวที่พบมากในช่วงวัยรุ่น มีลักษณะหัวสิวไม่อักเสบเป็นส่วนใหญ่ หรือมีสิวอักเสบไม่เกิน 10 จุด
- สิวปานกลาง (Moderate Acne) เป็นสิวอักเสบขนาดเล็กมากกว่า 10 จุด หรือมีสิวอักเสบขนาดใหญ่น้อยกว่า 5 จุด
- สิวรุนแรง (Severe) เป็นสิวอักเสบทั้งขนาดเล็กและใหญ่จำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีการอักเสบอยู่นานและกลับมาเป็นซ้ำ หรือมีหนองไหล
- สิวอักเสบเฉียบพลัน (Maligna) หรือที่เรียกกันว่าสิวสเตียรอยด์ มักพบในผู้ชายอายุระหว่าง 13-22 ปี เกิดจากการใช้สเตียรอยด์เกินขนาด มีลักษณะคล้ายสิวรุนแรงแต่อาจมีไข้และอาการอักเสบร่วมด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นบริเวณหน้าผาก จมูก แก้ม และแผ่นหลัง อีกทั้งยังมีโอกาสทำให้เกิดแผลเป็น หลุมสิว และรอยสิวได้ค่อนข้างมาก
วิธีป้องกันและดูแลตัวเองไม่ให้เกิดสิว
ได้ทำความรู้จักประเภทของสิวกันไปพอสมควรแล้ว ลำดับต่อไปหมอจะขอพาคนไข้มาเรียนรู้วิธีป้องกันและดูแลตัวเองไม่ให้เกิดสิวกันบ้าง ซึ่งการเกิดสิวสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน พันธุกรรม พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และการอุดตันของสิ่งสกปรกในรูขุมขน ซึ่งการที่คนไข้มีข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและดูแลสิวอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยให้คนไข้สามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดสิว รวมถึงช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุดอีกด้วย
1. ล้างหน้าเป็นประจำ 2 ครั้งต่อวัน
คนไข้หลาย ๆ คนอาจจะมีความเข้าใจว่า การล้างหน้าบ่อย ๆ จะช่วยให้ผิวหน้าสะอาดมากยิ่งขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วการล้างหน้าบ่อย ๆ จะทำให้ผิวแห้งกร้าน ขาดความชุ่มชื้น ทำให้ผิวต้องผลิตน้ำมันออกมามากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดการอุดตันและเกิดสิวขึ้นมาได้ ดังนั้น ทางที่ดีจึงควรล้างหน้าเพียงวันละ 2 ครั้งในตอนเช้า-เย็นเท่านั้น นอกจากนี้ยังควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เหมาะกับสภาพผิวรวมถึงปัญหาผิวที่เป็นอยู่
2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวหน้าโดยไม่จำเป็น
ในแต่ละวัน มือของเราต้องไปสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ มากมาย แน่นอนว่าสิ่งสกปรกที่ติดอยู่บนสิ่งของเหล่านั้นก็อาจจะติดขึ้นมากับฝ่ามือของเราได้ ทำให้มือของเรากลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียและสิ่งสกปรก ซึ่งสิ่งสกปรกเหล่านั้นก็อาจจะไปติดอยู่บนใบหน้าของเราเมื่อนำมือไปสัมผัสกับใบหน้าได้ ดังนั้น ทางที่ดีจึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าโดยไม่จำเป็น
3. ลดการทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์
ไม่ว่าจะเป็นของมัน ของทอด ขนมขบเคี้ยว และอาหารที่มีน้ำตาลสูง เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมามากขึ้น จนเกิดการอุดตันและกลายเป็นสิวขึ้นมา
4. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าหรือสกินแคร์บางชนิด อาจออกฤทธิ์ที่รุนแรงเกินไปจนทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองและอักเสบขึ้นมาได้ นอกจากนี้ในคนไข้ที่เป็นสิวอักเสบอยู่แล้ว ส่วนผสมบางอย่างก็อาจจะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบและลุกลามมากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย ดังนั้น ทางที่ดีจึงควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีเหมาะกับสภาพผิว มีความอ่อนโยน และช่วยปลอบประโลมผิว หรือหากไม่มั่นใจแนะนำให้ปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์รักษาสิวเฉพาะทางจะดีที่สุด
รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิว ตอบโดยแพทย์รักษาสิวเฉพาะทาง
ได้ทำความรู้จักประเภทของสิว รวมถึงวิธีป้องกันและดูแลผิวไม่ให้เกิดสิวกันไปแล้ว ในช่วงนี้หมอก็จะขอมาตอบคำถามที่หลายคนน่าจะพบบ่อย ซึ่งหมอรวบรวมมาให้ทั้งหมด 9 คำถาม ดังนี้
1. วิธีดูว่าเราเป็นสิวแบบไหน?
สำหรับวิธีดูว่าเราเป็นสิวแบบไหน สามารถทำได้ไม่ยาก เพียงแค่ลองสังเกตลักษณะและอาการของสิวที่เป็นอยู่ เนื่องจากสิวแต่ละประเภทจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป
2. สิวแต่ละชนิดมีอะไรบ้าง?
สิวที่สามารถพบได้ทั่วไป สามารถแบ่งได้ทั้งหมด 7 ชนิดใหญ่ ๆ ดังนี้
- สิวหัวดำ หรือสิวอุดตันหัวเปิด (Blackheads) เป็นสิวไม่อักเสบมีลักษณะเป็นเม็ดสีดำ ๆ อยู่บริเวณรูขุมขน สามารถรักษาได้ง่าย
- สิวหัวขาว หรือสิวอุดตันหัวปิด (Whiteheads) เป็นสิวไม่อักเสบมีลักษณะเป็นเม็ดตุ่มนูนสีขาว ๆ ไม่สามารถมองเห็นหัวสิวได้จากภายนอก ซึ่งสิวหัวขาวสามารถเกิดการอักเสบและติดเชื้อจากการบีบหรือแกะได้
- สิวตุ่มนูนแดง (Papule) เป็นสิวอักเสบขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดง ไม่มีหัว และมีการอักเสบโดยรอบ มักเกิดขึ้นจากการสัมผัส กด บีบ หรือแกะสิวจนเกิดการติดเชื้อและอุดตัน
- สิวหัวหนอง (Pastule) มีขนาดคล้ายกับสิวตุ่มนูนแดง แต่จะมีหัวหนองที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ อยู่ด้วย
- สิวอักเสบขนาดใหญ่ (Nodule) มีลักษณะคล้ายกับสิวตุ่มนูนแดง แต่จะมีขนาดใหญ่กว่ามาก และจะมีอาการปวดเมื่อสัมผัส
- สิวหัวช้าง (Nodulocystic acne) เป็นสิวอักเสบที่รุนแรงและมีขนาดใหญ่ที่สุด อีกทั้งยังสามารถแพร่กระจายไปทั่วบริเวณใบหน้าและลำคอได้
- สิวเทียม สิวผด หรือสิวหิน (Acne Aestivale) เป็นสิวอักเสบที่มักจะเห่อขึ้นมาเมื่อเจอกับอากาศร้อน มีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ แข็ง ๆ คล้ายผดกระจายอยู่ทั่วบริเวณแก้ม
3. สิวอุดตัน สิวอักเสบ ต่างกันยังไง?
- สิวอุดตัน เป็นสิวที่เกิดจากการอุดตันของต่อมไขมัน มีลักษณะคล้ายสิวผด กดแล้วไม่รู้สึกเจ็บ แต่สามารถพัฒนาเป็นสิวอักเสบได้หากเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียขึ้นมา สามารถแบ่งได้ทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ สิวหัวขาวและสิวหัวดำ
- สิวอักเสบ เป็นสิวที่มีเชื้อแบคทีเรีย C. Acnes และสิ่งสกปรกเข้ามาเจริญเติบโตอยู่ในตุ่มสิว จนกระตุ้นให้เกิดการอักเสบและเกิดเป็นสิวอักเสบรุนแรงตามมา สามารถแบ่งได้ทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ สิวตุ่มแดง สิวตุ่มหนอง สิวหัวช้าง และสิวยีสต์
4. สิวแบบไหนต้องไปหาหมอ?
ปัญหาสิวที่เกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่ คนไข้สามารถรักษาได้ด้วยตัวเอง แต่หากมีปัญหาสิวอักเสบเรื้อรัง และกระจายไปทั่วใบหน้าจนทำลายผิวหนัง หมอแนะนำว่าคนไข้ควรจะเข้ารับคำปรึกษาโดยแพทย์ผิวหนังหรือแพทย์รักษาสิวเฉพาะทางในทันที เพราะนอกจากจะสร้างความเจ็บปวดเมื่อสัมผัสโดนสิวได้แล้ว ยังเป็นการทำลายผิวและสามารถสร้างรอยแผล รอยสิว หรือหลุมสิวที่รักษายากในอนาคต ทำให้คนไข้สูญเสียความมั่นใจและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษามากขึ้นได้อีกด้วย
5. สิวขึ้นตรงไหนเจ็บสุด?
สิวที่แก้มทั้งสองข้าง สิวที่หู สิวที่จมูก และสิวบริเวณเหนือริมฝีปาก เป็นบริเวณที่สิวขึ้นแล้วเจ็บที่สุด ยิ่งถ้าเป็นสิวอักเสบและไปบีบหรือแกะสิวจนมีการอักเสบมากยิ่งขึ้นก็จะเกิดการระบมได้ เนื่องจากเป็นบริเวณที่ผิวหนังมีความบอบบาง
6. สิวแบบไหนที่ควรบีบ?
สิวที่กดได้หรือสิวที่ควรบีบคือ สิวที่เห็นหัวสิวชัดเจน เมื่อกดหรือบีบแล้วหัวสิวสามารถหลุดออกมาได้ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็น สิวหัวดำ สิวหัวขาว และสิวหัวหนอง
7. สิวแบบไหนที่ไม่ควรบีบ?
สิวที่กดไม่ได้ หรือสิวที่ไม่ควรบีบ คือ สิวที่ไม่เห็นหัวชัดเจน เพราะอาจจะอยู่ลึกเกินกว่าที่จะกดออกมาได้ นอกจากนี้หากฝืนกดก็อาจจะเกิดการอักเสบและสร้างรอยแผลเป็นในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็น สิวหัวปิด สิวอักเสบหัวแดงที่ยังไม่เห็นหัว สิวหัวช้างที่ยังไม่เห็นหัว (แต่หากเห็นหัวหนองแล้วสามารถกดได้)
8. สิวแบบไหนรักษาง่ายสุด?
สิวอุดตันทั้งสิวหัวดำและสิวหัวขาว เป็นสิวที่รักษาได้ง่ายที่สุด เนื่องจากเป็นสิวที่ไม่มีการอักเสบ หากเป็นสิวชนิดนี้แนะนำให้ซื้อยารักษาสิวมาทา และหลีกเลี่ยงการจับ แกะ หรือบีบสิวด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันการติดเชื้อจนกลายเป็นสิวอักเสบ
9. สิวแบบไหนรักษายากที่สุด?
สิวหัวช้าง เป็นสิวที่รักษาได้ยากสุด และคนไข้ที่เป็นสิวชนิดนี้ควรรีบไปพบแพทย์ด้านผิวหนังหรือแพทย์รักษาสิวโดยเฉพาะ เนื่องจากสิวหัวช้าง เป็นสิวขนาดใหญ่และมีการอักเสบรุนแรง รักษาได้ยาก และหากรักษาไม่ถูกต้องก็อาจจะกลายเป็นแผลเป็นหรือหลุมสิวขนาดใหญ่ได้
รักษาสิวให้เหมาะกับประเภทของสิวที่ M VITA CLINIC
เชื่อว่าข้อมูลที่หมอรวบรวมมาในบทความนี้ คงจะทำให้คนไข้หลาย ๆ คนสามารถไขคำตอบเกี่ยวกับปัญหาสิวที่เป็นอยู่ได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งการที่คนไข้รู้จักประเภทของสิวก็จะช่วยให้คนไข้สามารถเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมกับประเภทของสิวที่เป็นอยู่ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ แม้ว่าปัญหาสิวจะเป็นปัญหาที่สามารถรักษาได้ด้วยตัวเอง แต่หากคนไข้ไม่มีความชำนาญในการกดสิวหรือไม่มีข้อมูลในการเลือกยารักษาสิว หมอแนะนำว่าการเข้ารับการวินิจฉัยและคำแนะนำในการรักษาที่เหมาะกับปัญหาสิวที่เป็นอยู่ ก็จะช่วยให้คนไข้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ซึ่งที่ M VITA CLINIC ก็พร้อมให้คำแนะนำกับคนไข้ทุกเคส เพื่อคืนความมั่นใจและผิวหน้าที่เรียบเนียนกลับมาให้คนไข้ สำหรับคนไข้ที่สนใจสามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลหรือจองคิวเข้ารับบริการได้ที่
ติดต่อ จองคิว ปรึกษาแพทย์
ข้อมูลของ เอ็มวีต้า คลินิก (Mvita Clinic)
- เปิด วันอังคาร – อาทิตย์ (ปิดทุกวันจันทร์)
- อังคาร – ศุกร์ : 11:00 – 20:00 , เสาร์ – อาทิตย์ : 10:00 – 20:00
- เอ็มวีต้า คลินิก (คลิก) ตั้งอยู่บน ถนน อโศกมนตรี หรือสุขุมวิท 21 ตรงข้ามโรงพยาบาลจักษุรัตนิน ครับ
- สามารถจอดรถได้ที่ คอนโด สุขุมวิท ลิฟวิ่ง ทาวน์ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมครับ
- เดินทางสะดวกได้ง่ายๆ สำหรับคนที่ไม่มีรถ หรือเลี่ยงรถติด ก็มาง่ายมากๆครับเพราะร้านเรา ใกล้กับ MRT เพชรบุรี ออก Exit 2 เดินมา
- ทางถนนอโศกมนตรี ประมาณ 200 เมตร ก็ถึง M Vita Clinic แล้วครับ
วันเผยแพร่